ธปท.-ก.ล.ต.ขีดเส้น 30วัน “ผู้ออกคริปโทชำระค่าสินค้า-บริการปฏิบัติตามกฎหลังบังคับใช้ 1เม.ย.65พร้อมเปิดไทม์ไลน์ออกเกณฑ์คุมUtility Tokenไตรมาส3-4ปีนี้
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ(Means of Payment)สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565นั้น
ธปท.-ก.ล.ต.ขีดเส้น 30วันผู้ออกคริปโทซื้อขายสินค้าและบริการปฎิบัติตามกฎ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 นายสุรศักดิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตลาด ก.ล.ต.กล่าวในเวทีการพูดคุยเรื่อง “ เกณฑ์กำกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นMoP” โดยระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้วอย่างน้อย 4ราย ซึ่งจากการพูดคุยกันก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี จึงเป็นที่มาของหลักเกณฑ์ที่ต้องปฎิบัติให้เป็นตามกฎภายใน 30วัน โดยให้หยุดโฆษณา เชิญชวน หรือแก้ไขสัญญา
“ก.ล.ต.จะกำกับผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลไม่อำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนบริการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ภายใต้หลักเกณฑ์ 6ข้อคือ ไม่โฆษณา ชักชวน,ไม่จัดทำระบบ,หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าบริการ,ไม่เปิดWallet,,ไม่ให้บริการโอนเงินบาทจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น,ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น,ไม่ให้บริการอื่นใดในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการชำระค่าสินค้าบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล”
ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ของภาครัฐตอบโจทย์ 2เรื่องคือ คุ้มครองผู้ลงทุนและไม่ขัดขวางตัวกลาง โดยศูนย์ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น การคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ คือ เป็นเหรียญถูกกฎหมายและมีความเป็นไปได้ของโครงการในการระดมทุน แต่ถ้าออกไปใช้Exchangeต่างประเทศ กรณีเกิดความเสียหายจะไม่ได้รับความคุ้มครอง
นอกจากนี้ กรณีที่ลูกค้ามีเงินเข้าออกบ่อย ในส่วนของก.ล.ต.กับธปท. อยู่ระหว่างพัฒนาให้ผู้ให้บริการต้องแจ้งเตือนลูกค้าใช้บัญชีผิดวัตถุประสงค์จากที่ได้แจ้งเตือนไว้ เช่น รับโอนแล้วขายออกในทันทีและมีความถี่ในเวลาใกล้เคียงกัน
ธปท.-ก.ล.ต.ขีดเส้น 30วันผู้ออกคริปโทซื้อขายสินค้าและบริการปฎิบัติตามกฎ
ต่อข้อถามกรณีภาคแต่ละธุรกิจดำเนินการออกเหรียญประเภท Utility Token หรือ เหรียญอรรถประโยชน์พร้อมใช้ในระบบนิเวศน์หรือecosystem นั้นนายณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงินธปท.กล่าวว่า จากการติดตามตลาดถ้าดูธุรกิจปีที่แล้วมีการทำสัญญาดิจิทัลหลากหลาย
ไม่ว่าการออกเหรียญเพื่อจองคอนโดฯหรือการออกเหรียญสำหรับรถราคาพรีเมียม รวมถึงการเป็นพันธมิตรให้บริการกับประชาชนในวงที่กว้างขึ้น เช่น โรงภาพยนต์หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น แต่การใช้เหรียญดิจิทัลในการจองคอนโดฯหรือเพื่อการลงทุนนั้นสามารถทำได้แต่ไม่อนุญาตให้ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ คือ ไม่แปลงมูลค่าเป็นเงินบาทหรือไม่อำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการเพราะการใช้เหรียญดิจิทัลชำระค่าสินค้าและบริการนั้นเกินขอบเขตที่กำหนดไว้
ต่อข้อถามถึงกรอบเวลาในการออกกฎเกณฑ์หรือไทม์ไลน์สำหรับกำกับดูแลผู้ออกเหรียญประเภท Utility Token นั้น นายสุรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ก.ล.ต. อยู่ในช่วงทำโฟกัสกรุ๊ปโดยกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Utility Token ว่ามีส่วนไหนต้องปรับปรุงให้สอดคล้องแนวทางของทางการก่อนที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็น(เฮียริ่ง)ในเดือนเมษายนคาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนคือ น่าจะเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม2565 หลังจากนั้น จึงรวบรวมผลที่ได้จากการทำโฟกัสกรุ๊ปและเฮียริ่งเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)ก.ล.ต.พิจารณาเห็นชอบ ซึ่งกว่าจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการประมาณไตรมาส 3-4ของปีนี้
อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/money_market